การตลาดออนไลน์ และ ขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับมือใหม่
การตลาดออนไลน์ ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอด เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนและ
เส้นทางการซื้อได้มุ่งเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งสินค้าขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง
อย่างรถหรือบ้านก็ยังเกิดกระบวนการในการตัดสินใจซื้อจากออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการ
ทำการตลาดออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและรอไม่ได้อีกต่อไป ในยุคที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
ของการตลาดดิจิทัลทำให้เห็นข้อหนึ่งว่า จริงๆ แล้วการแข่งขันไม่ใช่การแข่งกับคู่แข่งทาง
ธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการแข่งกับตัวเอง และการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
มากกว่า อย่างไรก็ตาม การการตลาดออนไลน์ ยังมีความคล้ายการทำตลาดแบบดั้งเดิมอยู่
บ้าง แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ลักษณะทางกายภาพ ขั้นตอน และกลุ่มเป้าหมาย ดัง
นั้นเราขอนำเสนอ 7 ขั้นตอนการทำ การตลาดออนไลน์ เพื่อเป็นไกด์ไลน์สำหรับมือใหม่ที่
กำลังจะลงสู่สนาม ให้มีหลักให้จับเพื่อให้การทำ การตลาดออนไลน์ ประสบความสำเร็จได้
ง่ายขึ้น
1.ทำ Market Research
หรือต้องเข้าใจตลาด เข้าใจลูกค้า เข้าใจคู่แข่ง ว่าลูกค้าและคู่แข่งของเราคือใคร ซึ่งเป็นขั้น
ตอนที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาด เราต้องมองหา Winning Zone หรือจุดที่เราจะชนะ
จุดที่เราต่างจากคู่แข่งและเป็นจุดที่ลูกค้าต้องการ หลายแบรนด์พลาดจุดนี้คือนำเสนอจุดขาย
ที่ลูกค้าไม่ต้องการ อาจเป็นจุดขายที่เรามีและเราเก่งแต่ลูกค้าไม่ได้อยากได้ หรือเป็นจุดที่ทั้ง
เราและคู่แข่งมีและทำแข่งกันด้วยซ้ำแต่ลูกค้าไม่ได้อยากได้ อีกจุดที่มักพลาดคือเห็นคู่แข่ง
เคลมอะไร คู่แข่งนำเสนออะไรแล้วรู้สึกว่าต้องทำบ้าง ซึ่งในความเป็นจริงสินค้าบางอย่างไม่
จำเป็นต้องขายในมุมมองเดียวกันก็ได้ ลูกค้าคนละคนอาจมีต้องการต่างกัน ลูกค้ากลุ่มเป้า
หมายเปลี่ยนทุกอย่างจะเปลี่ยนไป ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องนำเสนอจุดขายที่จริงๆ เราไม่มีแต่
พยายามบอกว่ามี Winning Zone ของลูกค้าแต่ละคนแต่ละกลุ่มจะต่างกันซึ่งเราต้องทำการ
ศึกษาเพื่อหาให้เจอ
2. ทำความเข้าใจลูกค้าให้ลึกขึ้น
โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเลือกว่าจะเจาะลูกค้ากลุ่มไหน คือ มองว่าทั้งโลกของสินค้าตัวนี้
ว่ามีกลุ่มลูกค้ากี่กลุ่ม โดยอาจแบ่งจากช่วงอายุ, โลเคชั่น, ไลฟ์สไตล์ และโอกาสในการซื้อ
บางครั้งสินค้าบางอย่างอาจมีกลุ่มลูกค้าเป็นสิบๆ กลุ่ม แต่เนื่องจากข้อจำกัดของทั้งแรงงาน
เวลาและงบประมาณเราอาจแบ่งลูกค้าออกเป็นแค่ 3 กลุ่มว่าคือลูกค้าที่เราต้องการมากที่สุด
และสามารถปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นขั้นตอนนี้อาจเป็นไปได้ว่าจากลูกค้าที่
มีเป็นสิบๆ กลุ่มเราจะเลือกใคร โดยดูจาก Winning Zone ที่เลือกมาแล้วว่าเราจะเข้าถึง
กลุ่มไหนได้ดีที่สุด เพื่อจะได้รู้ว่าปัญหาของลูกค้าคืออะไร สิ่งที่เขาต้องการคืออะไร สิ่งที่เขา
ไม่ต้องการคืออะไร ซึ่งคำว่าไม่ต้องการหลายคนอาจมองข้ามแต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
เช่น เมื่อนำเสนอสินค้าบางอย่างที่ลูกค้าต้องการ คุณสมบัติต่างๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เขา
แล้วต่อมานำเสนอคุณสมบัติบางอย่างที่เขาไม่ต้องการเพิ่มขึ้นมา ทำให้ลูกค้าอาจมีความ
รู้สึกว่ามากไป เพราะเป็นการสร้างดีมานส่วนเกิน ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าตัวนี้มีคุณสมบัติ
เกินสิ่งที่เขาอยากได้และมีราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าเรารู้ว่าเขาไม่ต้องการอะไรบางครั้ง
ไม่ต้องบอกคุณสมบัติทุกอย่างของสินค้าก็ได้ บอกเฉพาะจุดที่เขาอยากได้ บอกข้อดีข้อเสีย
เงื่อนไขที่เขาต้องรู้ทั้งหมดพอ
3. เลือกช่องทางในการโปรโมท
เลือกว่าจะโปรโมทสินค้าที่ไหน โดยดูจาก Customer Journey หรือเส้นทางการเดินทาง
ของลูกค้า โดยเข้าไปดักให้ได้ว่าเราจะเข้าไปเจาะใจเขาได้ที่ตรงไหน จะใช้ Facebook
,Line official account, Instagram, Twitter หรือช่องทางไหน โดยเลือกจากช่องทางที่
ลูกค้าอยู่เป็นหลัก
4. สร้างคอนเทนต์
เมื่อรู้ความต้องการของลูกค้าและรู้แล้วว่าจะไปช่องทางไหนก็ถึงเวลาออกแบบคอนเทนต์ ว่า
จะใช้คอนเทนต์แบบไหนสำหรับใช้ในช่องทางใด เจาะลูกค้ากลุ่มไหน ปัญหาของลูกค้าคือ
อะไร แล้วจึงทำคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ให้ลูกค้าเข้ามาเสพ ติดตามค้นหาเราเจอและดู
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ผ่านโลกออนไลน์
5 ลงโฆษณา
ในกระบวนการในการลงโฆษณาก็จะมีเรื่องที่ต้องคิดว่า จะลงอย่างไรและต้องวัดผลด้วยวิธี
ไหน จะเลือกวัตถุประสงค์อะไรในการลงโฆษณา เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบไหน มีงบประมาณ
เท่าไหร่ ระยะเวลาในการโฆษณา
6. วัดผล
หลังจากทำแคมเปญลงโฆษณา ต้องมีการวัดจะวัดผลด้วยวิธีไหน ต้องวัดอะไรบ้าง ใช้เงินไป
เท่าไหร่ คุ้มค่าหรือไม่ โฆษณาตัวนี้ต้องวัดผลคนทัก วัดผลจากยอดขาย วัดผลจากคนกดไลค์
วัดผลจากคนเห็น วัดผลคนแชร์ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์จะมีวิธีการวัดผลไม่เหมือนกัน
7.เก็บ Key Learning
หลังจากทำแคมเปญเสร็จถ้ามีการวางแผนมาตั้งแต่แรกจะสามารถสรุปผลภายได้ในหนึ่ง
สัปดาห์ หรือภายใน 1 เดือน ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำทุกขั้นตอนนี้จะเอาไปทำอะไรต่อได้
อีก เพราะว่าการทำการตลาดก็คือการทดลอง Marketing is test ไม่ได้แปลว่าทำวันนี้แล้ว
พรุ่งนี้จะมียอด ถ้าวันนี้ไม่มียอดพรุ่งนี้จะทำอย่างไรต่อ ต้องมีการทดลองทำจริง ต้องมีการลง
ไปเล่นในสนาม นำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปปรับปรุงในการทำครั้งต่อไป ทดลองไปเรื่อยๆ
ทั้งหมดเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการทำการตลาดออนไลน์ที่มือใหม่สามารถใช้ยึดเป็นแนวทาง
ในการเริ่มทำธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามท่องเอาไว้ว่า การตลาดคือการทดลองไม่มีสูตรสำเร็จ
ตายตัวสำหรับทุกคน ต้องเริ่มลงมือทำและค่อยๆ ปรับไปจนเจอสูตรที่ใช่สำหรับกลุ่มเป้า
หมายแต่ละกลุ่ม
และวันนี้เรายังมี แนวทางสร้างยอดขายด้วย Data-Driven Marketing
หลายคนคงทราบดีว่ายุคนี้ เป็นยุคแห่งข้อมูล เพราะการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านช่องทาง
ออนไลน์ เรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนไม่มากก็น้อย ช่องทาง
ออนไลน์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บบันทึกพฤติกรรมของผู้ซื้อ ตั้งแต่ข้อมูลพื้น
ฐาน ความสนใจ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ล้วนถูกบันทึกไว้ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางไหน
ข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ให้ธุรกิจในการนำไปต่อยอดเพื่อทำการตลาดออนไลน์ทั้งสิ้น
เพราะหากเราสามารถเข้าใจและรับรู้ตัวตนของกลุ่มเป้าหมาย นั่นหมายความว่าเราสามารถ
นำเสนอสิ่งที่ตรงใจพวกเขา และมีโอกาสสร้างฐานลูกค้าประจำในอนาคตได้ สำหรับธุรกิจ
ในทุกวันนี้ ที่ต่างมีช่องทางของตัวเองอยู่บนโลกออนไลน์ การมีข้อมูลของลูกค้าจึงเป็นเรื่อง
สำคัญ
“ข้อมูลเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่มีมูลค่า สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างรายได้มหาศาลแก่ธุรกิจ”
เราจึงสังเกตได้ว่า หลาย ๆ ครั้งแคมเปญต่าง ๆ มักจะยื่นข้อเสนอเพื่อแลกกับข้อมูลทั่ว ๆ ไป
ของเรา นอกจากข้อมูลจากการลงทะเบียน การกรอกแบบฟอร์ม หรือพฤติกรรมการกดลิงก์
ต่าง ๆ แล้วข้อมูลพฤติกรรมพื้นฐานบนโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook, Instagram, Twitter
รวมถึง Search Engine ก็มีการบันทึกข้อมูลพื้นฐาน พฤติกรรมการใช้งาน ความชอบต่างๆ
เอาไว้ด้วยเช่นกัน
ถึงตรงนี้คงจะเกิดคำถามแล้วว่า ข้อมูลที่มากมายมหาศาลเหล่านั้น จริง ๆ แล้วธุรกิจสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้างบทความนี้จึงรวบรวมแนวทางการนำ “Data” ที่มี ไปใช้
กับการทำตลาดออนไลน์ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า “Data-Driven Marketing” ค่ะ
Data-Driven Marketing คืออะไร ? ก่อนจะเริ่มดูแนวทางการใช้ เรามาทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับ Data-Driven Marketing กันก่อนนะคะ โดย Data-Driven Marketing หรือ
การ ตลาดที่มีข้อมูลเป็นสิ่งขับเคลื่อน คือ การทำการตลาดที่อิงตามการวิเคราะห์ข้อมูลที่เรา
เก็บ มาไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพ และ ตอบโจทย์นั่นเองค่ะ
โดย แนวทางการทำ Data-Driven Marketing จะเป็นอย่างไรนั้นมาดูพร้อม ๆ กันได้เลย
1. Data-Driven Marketing กับการใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมายการทำโฆษณา
อย่างที่รู้กันค่ะว่า ช่วงเวลาความสนใจของคน ต่อสิ่งต่าง ๆ บนโลกออนไลน์นั้นสั้นลงทุกที
พูดง่าย ๆ ก็คือ คุณมีเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ที่คนจะเห็นโฆษณาแล้วตัดสินใจว่าจะดูต่อ
หรือไม่ การยิงโฆษณาทั้ง Facebook Ads และ Google Ads ไปยังกลุ่มคนที่ไม่สนใจจึงไม่
สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจสักเท่าไหร่ ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่การตลาดจะต้องถูก
กำหนดเป้าหมายไปยังผู้ชมที่ต้องการสินค้าและบริการนั้นจริง ๆ สอดคล้องกับ Facebook,
Google และ Instagram ที่มักจะแนะนำคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้ผู้ใช้งานตามประเภท หรือ
เนื้อหาของคอนเทนต์ที่เคยรับชมมาก่อน ซึ่งการทำ Data-Driven Marketing กับข้อมูล
พฤติกรรมลูกค้าเหล่านี้นี่เอง ที่ช่วยเหลือ และเอื้ออำนวยประโยชน์ให้การกำหนดกลุ่มเป้า
หมายของโฆษณา เข้าถึงคนที่ใช่สำหรับธุรกิจมากที่สุดค่ะ
ยิ่งเรามีฐานข้อมูลมากเท่าไหร่ เราก็จะสามารถคัดคนที่ “ไม่ใช่” ออกไป และทำโฆษณาไปยังคนที่ “ใช่” ได้มากขึ้น
2. Data-Driven Marketing เพื่อความเข้าใจขั้นตอนการตัดสินใจของลูกค้า
ผู้บริโภคยุคใหม่คุ้นเคยกับการใช้สื่อดิจิทัล และแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ในการค้นหาเพื่อ
ช่วยในการตัดสินใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจต่าง ๆ จะต้องเข้าใจขั้นตอนการเดินทาง ก่อน
การตัดสินใจซื้อของลูกค้าอย่างถ่องแท้ ตั้งแต่ขั้นตอน และเหตุผลของการซื้อ ไปจนถึงซื้อเมื่อ
ไหร่ในราคาเท่าใด การทำ Data-Driven Marketing กับข้อมูลขั้นตอนในการตัดสินใจของ
ลูกค้านี้ จะช่วยให้คุณทำการตลาดได้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางมากขึ้น และมีโอกาสจะเพิ่ม
ยอดขายที่มากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลของธุรกิจ A มี Journey ที่หาข้อมูลและตัดสิน
ใจซื้อผ่าน Facebook เป็นหลัก ส่วนธุรกิจ B มี Journey ในการหาข้อมูลและตัดสินใจซื้อ
ผ่าน Google เป็นหลัก ด้วย Data-Driven Marketing เราจึงสามารถบอกได้ว่าทั้งสองธุรกิจ
นี้จะมีกลยุทธ์การตลาดที่ให้ความสำคัญกับช่องทางที่ต่างกัน เป็นต้น เรียกได้ว่า Data-
Driven Marketing มีส่วนช่วยให้ทำการตลาดได้ตรงจุดมากขึ้นนั่นเองค่ะ
3. Data-Driven Marketing เพื่อนำมาใช้ออกแบบคอนเทนต์ และการขาย
การทำคอนเทนต์สิ่งที่จำเป็นต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่ง Data-Driven
Marketing จะทำให้เรารู้ว่าลูกค้ามีความต้องการแบบไหน ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มา
ใช้เป็นแนวทางในการเลือกหัวข้อ และ คีย์เวิร์ดได้นั่นเอง และนอกจากจะทำให้ตอบโจทย์
ลูกค้าแล้ว การใช้ Data-Driven Marketing ยังสามารถทำให้เรารู้ได้ว่าควรเน้นไปที่คอน
เทนต์หัวข้อไหนด้วย เพื่อให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่ง Data-Driven Marketing จะทำให้เรา
รู้ว่าควรลงทุนไปกับอะไร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของเราได้ในระยะยาว ในด้าน
การขายก็เช่นกัน ยิ่งเรามีฐานข้อมูลของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเพื่อมาทำ Data-Driven
Marketing มากเท่าไหร่ เราก็ย่อมรู้ว่า เรื่องใดที่กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้จะสนใจ โทนเสียง
แบบไหนที่จะเหมาะ ดังนั้นถ้าเราสื่อสารตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการได้จริงๆ ยอดขายถล่ม
ทลาย ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอนค่ะ
ถ้าเราไม่มี DATA เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า จะเขียนคอนเทนต์เรื่องอะไร ลักษณะไหน ให้กลุ่มเป้าหมายอยากซื้อได้
4. Data-Driven Marketing เพื่อการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล
ลองนึกถึงสถานการณ์ที่เราเป็นลูกค้า เราคงจะรู้สึกดีมาก ๆ ถ้าได้เข้าไปในแอปพลิเคชัน
เว็บไซต์ หรือช่องทางใดๆก็ตามที่เข้าใจความต้องการของเรา และนำเสนอที่เหมาะสมหรือ
อยู่ในความสนใจกับเราโดยเฉพาะ ซึ่งการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลนี้เรียกว่า
“Personalized Marketing” “Personalized Marketing” คือการทำการตลาดดิจิทัล ที่นำ
เสนอสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ให้ตรงจุดกับความต้อการของผู้บริโภคแต่ละคนมากที่สุด โดย
ไม่ต้องไปเสียเวลาในการเสนอสินค้าชนิดเดียวกันให้กับทุกคน แต่จะเน้นการเจาะจงไปที่
กลุ่มหรือบุคคลที่เหมาะกับสินค้าหรือบริการของเรามากที่สุด ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้ยังทำให้
ลูกค้ารู้สึกถึงความสัมพันธ์ของแบรนด์ที่มีต่อลูกค้าอีกด้วย
ถ้าทำการตลาดแบบออฟไลน์ คงจะเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะทำการตลาดเฉพาะบุคคล เพราะ
เป็นสถานการณ์ที่เราสามารถสื่อสารกันต่อหน้า สามารถคาดเดาความรู้สึก บุคลิกภาพเวลา
สนทนา เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้เหมาะกับคน ๆ ได้ แต่สำหรับการตลาดออนไลน์จะ
เป็นเรื่องยากทันที ถ้าเราไม่มีข้อมูลในระบบ ดังนั้น ฐานข้อมูลพฤติกรรมและการทำ Data-
Driven Marketing จึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำ “Personalized Marketing” และกำลัง
เป็นที่นิยมในการนำมาใช้ทำการตลาดออนไลน์ในยุคนี้มาก ๆ ค่ะ
ตัวอย่างการทำ Personalized Marketing ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Netflix ธุรกิจ
ให้บริการสตรีมมิ่งวิดิโอออนไลน์ ที่ใช้การเก็บข้อมูล และ วิเคราะห์ ตามหลัก Data-Driven
Marketing เพื่อนำเสนอภาพยนตร์ และซีรี่ย์ที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของ
รายการภาพยนตร์ แต่ยังรวมไปถึงรูปแบบหน้าปกที่แสดง ก็ใช้นำเสนอแตกต่างกันไปตาม
แต่ละบุคคลด้วย
อีกหนึ่งตัวอย่างการทำ “Personalized Marketing” เป็นของเว็บไซต์ Amazon เกี่ยวกับ
การออกแบบ Landing Page ให้เหมาะกับแต่ละบุคคล หากสังเกตดูจะเห็นว่า เว็บไซต์มีการ
เก็บข้อมูลผู้ใช้ เพื่อนำมาทำ Data-Driven Marketing แล้วนำเสนอสินค้าในหมวดหมู่ที่
สนใจไว้ในหน้าแรกของเว็บไซต์เลย Landing Page ในรูปจึงนำเสนอสินค้าเกี่ยวกับ IT หรือ
สินค้าสำหรับสายนักเล่นเกมส์ ซึ่งเป็นสินค้าที่เคยค้นหาในเว็บไซต์มาก่อนหน้านี้ เพื่อกระตุ้น
ให้เกิดการซื้อ หรือซื้อเพิ่มค่ะ
5. Data-Driven Marketing เพื่อการกระตุ้นให้ซื้อซ้ำ หรือใช้บริการเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง
หากคุณมีข้อมูลของลูกค้าเก่าที่เคยซื้อของจากเว็บไซต์ไป หรือมีข้อมูลของคนที่สนใจและ
กำลังตัดสินใจในการซื้อสินค้าบางอย่างแล้ว ทำไมคุณไม่ลองมองกลุ่มคนเหล่านี้อีกครั้ง
ด้วยการทำ Data-Driven Marketing ล่ะคะ? ซึ่งการทำการตลาดให้คนที่เคยซื้อสินค้า หรือ
คนที่เคยเข้าเยี่ยมชม ค้นหาข้อมูลเพราะเกิดความสนใจ ได้กลับมาหาคุณอีกครั้งนี้ เรียกว่า
Retargeting นั่นเองค่ะ
Retargeting เป็นส่วนสำคัญของการตลาดดิจิทัล และเป็นแคมเปญหนึ่งที่ต้องอาศัยข้อมูลใน
การทำ ยกตัวอย่างการทำ Retargeting เช่น บริษัทสกีสามารถส่งข้อเสนอให้กับลูกค้าที่เพิ่ง
ซื้อสกีไป จูงใจให้กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ซื้อสินค้าเกี่ยวกับสกีเพิ่มเติมได้อีก หรือสามารถขาย
สินค้าบริการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องได้ อย่างคอร์สเรียนสกี ที่พักแรม ตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น เรียก
ได้ว่าทำการตลาดให้ “ซื้อแล้ว ซื้ออีก” นั่นเองค่ะ
Retargeting ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการใช้ DATA หรือข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อทำการตลาดให้เกิดประโยชน์
6. Optimized Paid Search : นำมาใช้ในเรื่อง SEO & SEM
การทำ SEO และ SEM สิ่งสำคัญคือการเลือกคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ หรือเป็นที่นิยม
ในการใช้เพื่อค้นหา ซึ่ง Data-Driven Marketing สามารถเข้ามาช่วยให้เราทำงานด้าน
SEO และ SEM ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของคีย์เวิร์ด
นั้น ๆ เพื่อดูว่ามันได้รับความนิยมหรือไม่ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็น
แนวทางในการชิงตำแหน่ง SEO เป็นต้น
นอกจากนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับ “Keyword” นี้ สามารถนำมาใช้กับการเขียน Headline ของ
บทความ เนื้อหาของบทความได้อีกด้วย ยิ่งถ้าเรามีข้อมูล คือรู้ว่าคีย์เวิร์ดใดที่คนใช้ค้นหา
มากที่สุดและตรงกับสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ แล้วนำมาใช้ในการเขียน ข้อมูลนี้ก็จะมี
ประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มปริมาณการชมเว็บไซต์ (Traffic) ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสที่พวก
เขาจะเข้ามาเห็นสินค้า และบริการของเรามากขึ้นด้วย โดยตัวอย่างเครื่องมือสำคัญที่ช่วย
ค้นหา Keyword ที่เราสามารถใช้ในการทำ Data-Driven Marketing ก็ได้แก่
Google Trend เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูแนวโน้มการค้นหาของ Keyword นั้น ๆ ว่าถูกใช้ค้นหา
บน Google บ้างหรือไม่ มีแนวโน้มเป็นอย่างไร ถ้ามีปริมาณการค้นหาที่มากขึ้นเรื่อย ๆ หรือ
เมื่อลองเทียบกับ Keyword อื่น ๆ แล้วมีปริมาณการค้นหามากกว่า เราก็สามารถใช้
Keyword นั้นกับการเขียนคอนเทนต์ของเราได้
Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือในการค้นหา Keyword ที่ละเอียดขึ้นมาอีกขั้น ซึ่ง
เหมาะสำหรับการทำ Data-Driven Marketing โดยจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ดังนี
Search Terms คือ keywords ที่คุณค้นหา
Monthly Searches คือ ค่าเฉลี่ยในการค้นหาต่อเดือน
Competition คือ คู่แข่งที่ใช้ keywords เดียวกับคุณ
Suggested Bid คือ ค่าใช้จ่ายของ keywords ต่อ 1 การคลิก
7. Data-Driven Marketing เพื่อการกำหนดเป้าหมายของแคมเปญในช่องทางอีเมล
เทคโนโลยีทางการตลาดสามารถช่วยคุณรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างกลุ่ม
ลูกค้าที่แตกต่างกัน และด้วยฐานข้อมูลนี้เอง ทำให้คุณสามารถสร้างแคมเปญอีเมลที่มุ่งเน้น
ไปที่ความต้องการและความสนใจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะได้ ตามหลักของการใช้
Data-Driven Marketing ซึ่งข้อมูลนี้ไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องการส่งอีเมลแบบอัตโนมัติได้ดี
ขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนข้อความให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละรายและทุก
คนที่คุณส่งไปได้
DATA จะช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่มคน และส่งข้อมูลที่เฉพาะกับกลุ่มนั้นๆแบบอัตโนมัติได้
ด้านล่างเป็นตัวอย่างพื้นฐานการใช้ Data-Driven Marketing เพื่อทำ Email Marketing จะ
สังเกตเห็นว่า มีการแบ่งลักษณะของเนื้อหาที่ส่งตามพฤติกรรมของสองกลุ่มที่ต่างกันในขั้น
นั้น ๆ จะเห็นว่าในขั้นที่สาม ถูกแบ่งตามพฤติกรรมการคลิก ถ้าผู้ใช้งานอีเมลกดเปิดลิงก์ดัง
กล่าว อีเมลจะดำเนินการต่อตามแผนผังในด้านซ้ายคือเข้าสู่ขั้นตอนการโหลด แต่ถ้าผู้ใช้
งานไม่กดลิงก์ อีเมลจะดำเนินการตามแผนผังด้านขวา คือรอตามระยะเวลาที่กำหนดก่อน
แล้วค่อยส่งอีเมลอีกครั้ง ซึ่งการดำเนินการนี้ เป็นไปแบบอัตโนมัติ
และนี่คือภาพรวมแนวทางการนำข้อมูลในการทำ Data-Driven Marketing ที่นักการตลาด
เจ้าของธุรกิจ มักนำไปใช้ประโยชน์กับการทำการตลาดออนไลน์ หวังว่าบทความนี้จะเป็นไอ
เดียให้กับใครที่กำลังมีข้อมูลอยู่ล้นมือ แต่ไม่รู้จะนำไปใช้ทำการตลาดอย่างไรดี ให้มี
แนวทาง หรือมีจุดเริ่มต้นเล็กของการนำข้อมูลไปพัฒนาการตลาดให้ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ